3 ข้อผิดพลาดของการประกาศงาน ทำให้ไม่ได้คนสมัคร ต้องแก้ไขด่วน

  • 24 Jan 2025
  • 3625
หางาน,สมัครงาน,งาน,3 ข้อผิดพลาดของการประกาศงาน ทำให้ไม่ได้คนสมัคร ต้องแก้ไขด่วน

3 ข้อผิดพลาด ที่ทำให้ประกาศงานไม่ได้คนสมัคร ซึ่งแท้จริงแล้วงานอาจมีความน่าสนใจ แต่คุณไม่ได้นำเสนอออกมา หรืออาจเป็นได้ว่า ประกาศงานที่ลงไว้ แทบไม่มีโอกาสเข้าถึงผู้สมัคร เพราะเขาไม่มีทางเจอประกาศของคุณได้เลย !!

 

มาหาวิธีแก้ไขไปพร้อมกับ HR Buddy กันค่ะ

1 การใช้คีย์เวิร์ดในการประกาศงาน : สำคัญที่สุดคือชื่อตำแหน่งงานที่ประกาศ บางครั้งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งรู้กันเฉพาะในบริษัทเท่านั้น หรืออาจใช้ชื่อที่ไม่บ่งบอกว่า ตำแหน่งนี้คืองานอะไร เช่น พนักงานประจำสาขา แต่ผู้สมัครไม่ได้ค้นหางานด้วยชื่อแบบนี้ค่ะ เช่นนี้จึงทำให้เขาไม่เจอประกาศงานของคุณ  

 

ดีที่สุดต้องเป็นชื่อทั่วไปที่ทุกคนรู้จักและบอกได้ทันทีว่าเป็นงานอะไร เช่น พนักงานการตลาดออนไลน์, พนักงานบัญชี หรือพนักงานขาย  และขอแนะนำว่าควรตามด้วยชื่อภาษาอังกฤษด้วย หรือใช้ชื่ออังกฤษแล้วตามด้วยชื่อไทยก็ได้ เพื่อให้ประกาศงานเข้าถึงทั้งผู้สมัครที่ค้นหางานด้วยชื่อภาษาไทยหรืออังกฤษ โอกาสได้คนที่ใช่ก็มากขึ้น

 

ปล. หรือหากต้องการใช้ชื่อเฉพาะ ก็ต้องวงเล็บชื่อทั่วไปด้วยนะคะ

 

2 ความถูกต้องและความน่าสนใจของคอนเทนต์ : ก่อนลงประกาศต้องตรวจสอบการสะกดคำให้ถูกต้องด้วยค่ะ เพราะหากใช้คำผิดหรือพิมพ์เกินพิมพ์ขาด ก็ทำให้ค้นหาไม่เจอเช่นกัน เช่น Superviser (ถูกต้อง = Supervisor), กราฟฟิค (ถูกต้อง = กราฟิก), ดิจิตอล (ถูกต้อง = ดิจิทัล) ทั้งนี้ ยังแสดงถึงความเป็นมืออาชีพของ HR ที่สะท้อนถึงภาพลักษณ์องค์กรและส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของประกาศงานด้วยนะคะ

 

รวมถึงความถูกต้องชัดเจนของเงินเดือน, หน้าที่ความรับผิดชอบ, สถานที่ปฏิบัติงาน และคุณสมบัติผู้สมัคร ก็ต้องตรวจสอบเช่นกัน คุณจะได้คนที่ใช่และพร้อมทำงานมากแค่ไหน ข้อมูลทั้งหมดนี้จะคัดกรองให้คุณค่ะ

 

นอกจากนี้ ต้องลำดับข้อมูลให้คอนเทนต์ในประกาศมีความน่าสนใจด้วย เพราะประเด็นมีอยู่ว่า หลายคนไม่ชอบอ่านอะไรยาว บางคนอ่านไม่จบด้วยซ้ำ

 

ฉะนั้น ส่วนไหนที่จัดว่าเด็ดที่สุด ต้องนำมาระบุไว้แรก ๆ ให้เขาเห็นก่อนเลย อย่างสวัสดิการที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายเช่น ค่าทันตกรรม, ประกันสุขภาพ, ประกันชีวิต, ค่าอาหาร, รถรับส่ง แต่ส่วนที่อาจไม่มีโอกาสได้ใช้บ่อย ให้ระบุในลำดับถัดมาค่ะ เช่น ทุนเรียนต่อต่างประเทศ, งานเลี้ยงสังสรรค์ ,ท่องเที่ยวประจำปี และสุดท้ายคือส่วนที่ธรรมดาที่สุด บริษัทไหนก็ต้องมี เอาไว้ท้ายสุดเลยค่ะ เช่น ประกันสังคม, เครื่องแบบพนักงาน (ปล. เห็นหลายประกาศมักระบุไว้ลำดับแรกเลย)

 

อย่างไรแล้ว ส่วนของสวัสดิการ ถ้ามีเยอะก็ระบุให้ครบเลยค่ะ ยิ่งเยอะ ยิ่งทำให้ประกาศน่าสนใจกว่าบริษัทอื่น แม้เขาจะอ่านไม่จบ แต่เพียงแค่นำเสนอส่วนที่น่าสนใจที่สุดมาให้เขาเห็นก่อน ก็ดึงดูดได้แล้วค่ะ

 

3 การมองในมุมผู้สมัครงาน : ทั้งหมดข้างต้นนี้ HR ต้องสมมติตัวเองว่าเป็นผู้สมัครด้วยค่ะ ตั้งแต่การเลือกใช้ชื่อตำแหน่ง ถ้าเราเป็นเขาที่กำลังหางานในสายงานนี้ เราจะเลือกค้นหาด้วยคำไหน แล้วข้อมูลในประกาศ มีส่วนไหนที่เราอยากเห็นมากที่สุด ส่วนไหนที่ยังไม่ชัดเจนแล้วอยากได้ข้อมูลมากขึ้น  และสุดท้าย เมื่ออ่านประกาศทั้งหมดแล้ว เราจะสมัครงานนี้ไหม ? ซึ่งหากเราเองยังรู้สึกไม่สนใจ ก็พอคาดการณ์ได้แล้วว่า โอกาสในการได้คนจะเป็นอย่างไร .....?

 

หลายคนถามว่ามีช่องทางใหม่ ๆ ที่ช่วยหาคนได้อีกไหม ?  แท้จริงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นช่องทางไหนก็ตาม ที่ใคร ๆ ก็แนะนำว่าดี อาจไม่สามารถช่วยให้ได้คนเพิ่มเลย ถ้าประกาศงานของเราไม่ได้ทำให้ผู้สมัครรู้สึกสนใจ

 

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สอบถามได้เลยค่ะ https://www.facebook.com/hrbuddybyjobbkk

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

ปัญหาที่พบบ่อย – วิธีแก้ไข ในงานสรรหาบุคลากร >> https://jobbkk.com/go/UmcTN

HR จะหาคนได้อย่างไร ? เมื่อบริษัทให้เงินเดือนน้อยกว่าที่อื่น สวัสดิการก็ไม่ดึงดูด >> https://jobbkk.com/go/Dly3N

 

ขอบคุณข้อมูล :  อาจารย์ พรเทพ พงษ์สง่างาน  ที่ปรึกษาอาวุโสด้าน HR และกรรมการ บริษัท เซ็นเมนทอร์ จำกัด ,กรรมการบริหาร APK Management Center

Website : www.senmentor.com

Line : wisebrown

Tel : 081-820-9271

 

สอบถามเพิ่มเติมสำหรับ HR : 02-514-7474 ต่อ 3

อีเมล : crm@jobbkk.com

Line :  @jobbkkvip (อย่าลืมใส่ @)

JOBBKK.COM © Copyright All Right Reserved

Jobbkk has only one website. In no case, we have an affiliate, agent or appointee. Please do not rely on any other website, email, telephone, SMS or other contacting channel. If it is a case, we will prosecute under a lawsuit in the upmost as allowed. DBD

Top